เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิกฟลายเออร์โบนัส

นโยบายการทำสำรองที่นั่งสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส

เนื่องจากทางสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส มีความพยายามที่จะบริหารจัดการที่นั่งในการขายอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ Distribution cost ที่ไม่จำเป็นอันเกิดขึ้นมาจากพฤติกรรมการทำสำรองที่นั่งที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งเพื่อเป็นการลดต้นทุนจากจำนวนการทำสำรองที่นั่งที่ไม่เกิดรายได้ในช่องทางการจัดจำหน่าย หรือระบบการจัดจำหน่ายต่างๆ ดังนั้นทางสายการบินได้กำหนดนโยบายการทำสำรองที่นั่งขึ้น (ซึ่งต่อไปนี้เรียกแทนว่า นโยบาย) เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบที่นั่งว่าง การทำสำรองที่นั่งและออกบัตรโดยสารในเส้นทางของสายการบิน

นโยบายการทำสำรองที่นั่งนี้จะเน้นไปที่การบริหารจัดการที่นั่งในการขายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีผลต่อตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของสายการบิน รวมถึงแทรเวลเอเย่นต์ต่างๆ (ทั้งที่เป็น และไม่ได้เป็นสมาชิกIATA) ทั้งในและต่างประเทศ และบุคคลอื่นๆ ที่สามารถเข้าถึงระบบการจัดจำหน่ายของสายการบิน (ซึ่งต่อไปนี้เรียกแทนว่า ผู้ใช้ระบบ)

หากมีการตรวจพบพฤติกรรมการทำสำรองที่นั่งที่ไม่เหมาะสมจากทางผู้ใช้ระบบ ทางสายการบินจะเรียกเก็บค่าปรับ และค่าธรรมเนียมจากทางผู้ใช้ระบบ โดยทางสายการบินจะออก Agent Debit Memo (ADM) เพื่อเรียกเก็บค่าปรับ และค่าธรรมเนียมโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

นโยบายดังกล่าวนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้ระบบเพื่อศึกษาและให้แน่ใจว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานหรือบริษัทของท่าน และคู่สัญญาของท่านเข้าใจและคุ้นเคยกับนโยบายนี้ ในกรณีที่นโยบายมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทางสายการบินจะแจ้งให้ท่านทราบต่อไป

  1. นโยบายการทำสำรองที่นั่ง
    1. Inactive segments
      การเปลี่ยนแปลงของ Segment status ที่เป็นผลให้เกิด inactive segment หรือ segment ที่มีการจองแต่ไม่ได้ใช้เดินทาง ผู้ใช้ระบบ/ผู้ทำจอง ต้องทำการยกเลิก/ลบ segment นั้นออกจากระบบ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเวลาเดินทางของเที่ยวบินนั้น ๆ ไม่ว่าจะมีการออกบัตรโดยสารหรือไม่ Inactive segment หรือ segment ที่ไม่ได้ใช้เดินทางนั้น ยังรวมถึง segment ที่มี status code: HX, NO, UC, UN, US, SC, WK, WL, or WN.
    2. Churning
      หมายถึง การทำ Booking แล้วยกเลิก Booking ซ้ำไปซ้ำมาหลาย ๆ ครั้ง เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
        - เพื่อบรรลุเป้า/ยอดขายที่ตั้งไว้
        - เพื่อดึงที่นั่งว่างของเที่ยวบิน (inventory) ไว้
        - เพื่อหลีกเลี่ยงหรือเปลี่ยนแปลงกำหนดการออกบัตรโดยสารตามระบบ
        - เพื่อประโยชน์ในการทำ Waitlisted booking ทั้ง Class of service เดียวกัน หรือ แตกต่างกัน
      พฤติกรรมการทำสำรองที่นั่งดังกล่าวถือว่าเป็นการละเมิดนโยบายการทำสำรองที่นั่ง
    3. การทำสำรองที่นั่งที่ซ้ำ กัน / segment ซ้ำกัน หรือ สำรองที่นั่งหลาย ๆ เที่ยวบินเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้โดยสาร
      การทำสำรองที่นั่งซ้ำกันไม่ว่าเป็นแบบ active หรือ passive โดยผู้ใช้ระบบ จะใช้ระบบ GDS เดียวกันหรือต่างกันก็ตาม ถือเป็นการละเมิดนโยบายดังกล่าว ซึ่งรวมถึง multiple itineraries/ duplicated bookings/duplicated segments โดยที่ผู้โดยสารจะไม่สามารถเดินทางได้จริงตามที่จองไว้ แม้ว่าจะมีการระบุเที่ยวบินหรือไม่ก็ตาม
    4. การทำ Fictitious/Speculative booking หรือ ใส่หมายเลขบัตรโดยสารปลอม

      4.1 ทางสายการบินขอความร่วมมือกับผู้ใช้ระบบทุกท่านในการทำสำรองที่นั่งในระบบ GDS ให้สัมพันธ์กับความต้องการของผู้โดยสาร หรือเพื่อซื้อบัตรโดยสารเท่านั้น ห้ามไม่ให้ทำ Booking หลอกซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของผู้โดยสาร

      4.2 การสร้าง segment ขึ้นมา ไม่ว่าเป็นแบบ passive หรือ active หรือ ทั้ง 2 แบบเพื่อเพิ่มยอดขายตามข้อตกลง และเพื่อให้ได้รับรางวัลส่งเสริมการขายนั้น ไม่สามารถทำได้ในทุกกรณี ซึ่งรวมถึงการออกบัตรโดยสารซ้ำกันจากระบบหนึ่งไประบบอื่นเพื่อให้ครบตามต้องการ

      4.3 การใส่หมายเลขบัตรโดยสารปลอม หรือใส่หมายเลขบัตรโดยสารที่ใช้ไปแล้ว เพื่อเป็นการเก็บรักษา Booking ไว้ ทำให้มีผลกระทบต่อจำนวนที่นั่งว่างของสายการบินที่ลดลง Booking ที่มีการใส่ชื่อผู้เดินทาง หรือ หมายเลขบัตรโดยสารปลอมจะถูกตรวจสอบ และเมื่อสามารถระบุได้ว่ามีเจตนาในการทำ Booking ดังกล่าว Booking นั้นจะถูกยกเลิก โดยทันที และทางผู้ที่ทำ Booking จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามตารางที่แนบมานี้.

    5. Passive bookings
      จุดประสงค์ของการทำ Passive booking คือ ใช้เพื่อการออกบัตรโดยสารเท่านั้น โดยผู้โดยสารจะต้องมี booking ที่ Confirm อยู่แล้ว สายการบินห้ามมิให้ผู้ใช้ระบบทำ Passive booking นอกเหนือจากกรณีดังกล่าว
    6. Marriage segments
      Marriage Segment คือ การเสนอขายเที่ยวบินโดยสายการบิน ที่มีเที่ยวบินที่เสนอขายมากกว่า 1 segment และห้ามมิให้ผู้ใช้ระบบแยกการทำสำรองที่นั่งเพื่อขายใน segment ใด segment หนึ่งเท่านั้น ในกรณีที่มีการทำสำรองที่นั่งเพื่อแยกขาย ผู้ใช้ระบบ จะถูกเรียกเก็บค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมตามกำหนด
    7. Un-ticketed No-show segments
      ผู้ใช้ระบบจะต้องรับผิดชอบในการยกเลิก Booking ที่ไม่ได้ออกบัตรโดยสารก่อนการเดินทางตาม ticket time limit ที่ส่งแจ้งโดยระบบ การไม่ยกเลิก booking เหล่านั้น จนทำให้เกิด NS status (No-show status) ทางสายการบินถือว่าเป็น segment ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (unproductive segment)
    8. การทำ Block Space โดยการแยกการทำสำรองที่นั่งแบบเดี่ยว (Individual Booking) แทนการทำ Group Booking ถือเป็นการละเมิดนโยบาย เป็นผลให้ Booking นั้นอาจถูกยกเลิกโดยไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า
    9. การทำสำรองที่นั่งเพื่อการฝกอบรม และเพื่อการทดสอบ (non-billable status code)
      การทำสำรองที่นั่งเพื่อฝกอบรมหรือทดสอบนั้น ต้องติดต่อทาง GDS Provider เพื่อจัดเตรียมระบบ การทำ PNR เพื่อฝกอบรมหรือทดสอบ ห้ามมิให้ผู้ใช้ระบบทำสำรองที่นั่งดังกล่าวในระบบปกติ
    10. ทางสายการบินไม่อนุญาตให้ทำสำรองที่นั่งในวันเดินทาง เว้นแต่จะมีการออกบัตรโดยสารตามกำหนดที่ทางระบบแจ้งเตือน
  2. Consequences for Policy violations
  3. Policy Charges (USD, equivalent local currency)
    Un-cancelled Inactive segments USD 5.00 per segment
    Invalid Class of service vs. the Fare Rule As per fare differential plus an administration fee per ADM
    Duplicate booking / segment / alternative segments for the same passenger USD 5.00 per segment
    Fictitious/speculative booking & ticket numbers USD 5.00 per segment
    Training & Test Booking USD 5.00 per segment
    Breaking of Married Segment As per fare differential plus an administration fee per ADM

    หมายเหตุ:

    1. ค่าธรรมเนียมการออก ADM คือ 20.00 เหรียญดอลล่าห์สหรัฐฯ ต่อ 1 ฉบับ
    2. สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ขอสงวนสิทธิ์การปรับเปลี่ยนค่าปรับ และค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

    ทั้งนี้ นโยบายการทำสำรองที่นั่งดังกล่าว จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 เป็นต้นไป